พญ.กิริฎา ตระกูลรุ่ง แนะนำวิธีการรักษา กระเนื้อ หรือติ่งเนื้อ

กระเนื้อ หรือติ่งเนื้อ เป็นก้อนเนื้อชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง มีลักษณะเป็นติ่งเนื้อขนาดเล็กคล้ายหูดนูนขึ้นมาจากผิวหนัง มักพบตามใบหน้า หน้าอก ไหล่ และหลัง ไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดและไม่จำเป็นต้องรักษา ยกเว้นในรายที่กังวลเรื่องความสวยงาม ซึ่งพบได้บ่อยในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ

พญ.กิริฎา ตระกูลรุ่ง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง และความงาม ผู้บริหารสิริยาคลินิก ให้คำแนะนำและความรู้ถึงลักษณะอาการ สาเหตุ และวิธีการรักษากระเนื้อ

ลักษณะหรืออาการของกระเนื้อสังเกตได้จาก

  • เป็นก้อนเนื้อรูปร่างทรงกลมหรือวงรีคล้ายแปะติดอยู่กับผิวหนัง
  • ขนาดของกระเนื้อส่วนมากมีขนาดเล็กไปจนถึงประมาณ 1 นิ้ว (2.5 เซนติเมตร)
  • มีหลายสี พบได้ตั้งแต่น้ำตาลอ่อนหรือเข้มไปจนถึงสีดำ
  • พื้นผิวของกระอาจมีลักษณะเรียบมันหรือขรุขระ ค่อนข้างแบนหรือนูนขึ้นมาเล็กน้อย 
  • พบได้บ่อยตามใบหน้า หนังศีรษะ หน้าอก ไหล่ ท้อง และหลัง 
  • อาจมีอาการคันหรือเกิดการระคายเคือง แต่ไม่มีอาการเจ็บ

สาเหตุของกระเนื้อ ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่เชื่อว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการเกิดได้แก่

  • อายุ 
  • พันธุกรรม 
  • แสงแดด

การรักษา

  • การรักษาด้วยเลเซอร์ 
  • การจี้ไฟฟ้า หากทำไม่ถูกวิธีหรือแพทย์ที่ไม่ชำนาญอาจก่อให้เกิดรอยแผลเป็นตามมา 
  • การจี้ด้วยสารเคมี เช่น กรดไตรคลอโรอะซิติก
  • การผ่าตัดด้วยความเย็นจัดหรือการจี้เย็นโดยการใช้ไนโตรเจนเหลว
  • การรักษาด้วยเลเซอร์ 
  • การจี้ไฟฟ้า หากทำไม่ถูกวิธีหรือแพทย์ที่ไม่ชำนาญอาจก่อให้เกิดรอยแผลเป็นตามมา 
  • การจี้ด้วยสารเคมี เช่น กรดไตรคลอโรอะซิติก
  • การผ่าตัดด้วยความเย็นจัดหรือการจี้เย็นโดยการใช้ไนโตรเจนเหลว

กระเนื้อส่วนใหญ่ไม่ค่อยก่อให้เกิดปัญหา แต่ทั้งนี้ไม่ควรถู ขูด หรือดึงผิวหนังบริเวณที่เกิดกระเนื้อ เพราะอาจทำให้เลือดออก บวม หรือติดเชื้อตามมา แต่พบได้น้อย 

อย่างไรก็ตาม เมื่อสังเกตเห็นว่ากระเนื้อขยายใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้น เกิดการระคายเคืองหรือเลือดออกเมื่อเสียดสีโดนกับเสื้อผ้า หรือผิวหนังบริเวณนั้นเกิดความผิดปกติตามมา เช่น รูปร่างผิดแปลกไปจากเดิม เกิดบาดแผล มีขนาดใหญ่ขึ้น ขอบก้อนเนื้อไม่เรียบ หรือเลือดออกจากก้อนเนื้อ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของมะเร็งผิวหนัง จึงควรไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุ