ส่องเทรนด์ตลาดดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งจีน ปี 2020

“จีน” เป็นหนึ่งเป้าหมายสำคัญที่ผู้ประกอบการอยากเข้าไปเจาะตลาด ด้วยศักยภาพของตลาดและจำนวนประชากรอันดับหนึ่งของโลก ซึ่งตลาด E-commerce จีนได้ขึ้นชื่อว่าเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีประชากรมากถึงพันกว่าล้านคน กำลังซื้อสูง การเจาะตลาดจีนยุคที่พลิกการค้าธุรกิจเข้าสู่ยุคดิจิทัลที่มีอิทธิพลเป็นอย่างมาก จีนเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีการใช้งานโซเชียลมีเดียสูง และส่วนใหญ่ใช้งานผ่านสมาร์ทโฟนในการซื้อขายสินค้าออนไลน์ที่สร้างมูลค่าทางการตลาดกว่า 2.135 แสนล้านหยวน ในช่วงเทศกาล 11.11 ของ อาลีบาบา 

คุณสุวัฒน์ รักทองสุข ซีอีโอ เลิศ โกลบอล กรุ๊ป เปิดเผยเทรนด์การตลาดจีนที่น่าจับตามองไว้ว่า ปัจจุบัน E-Commerce จีนได้ก้าวไปถึงยุคที่ 3 แล้ว ซึ่งในปี 2020 Social e-commerce จะมีอิทธิพล และเป็นเทรนด์การตลาดที่มาแรงอย่างแน่นอน ยกตัวอย่างแพลตฟอร์ม Social e-commerce ของจีนที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในขณะนี้ คือ Pin Duo Duo ที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก เติบโตอย่างรวดเร็วถึง 400% Pin Duo Duo เป็นแพลตฟอร์มที่ไม่ได้ใช้เพียงแค่ E-commerce แต่ยังใช้ Social ควบคู่ไปด้วย เน้นทำโปรโมชั่นแรงๆ เพื่อเจาะกลุ่มผู้บริโภค ฉะนั้นสินค้าที่ขายใน Pin Duo Duo ราคาไม่สูงมาก เน้นขายปริมาณสินค้า และทำตลาดจีนหัวเมืองหลัก และหัวเมืองรองระดับ 1- 6 (1 tier-6 tier) ตลาด จึงแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นสินค้าด้านผลิตภัณฑ์ที่ทุกคนรู้จักอย่าง JD, Tmall, Taobao, Alibaba เป็นแพลตฟอร์มที่ทำด้านผลิตภัณฑ์สินค้า ยังขายผลิตภัณฑ์ในรูปแบบเดิมอยู่ จนกลายเป็น Traditional Commerce ไปแล้วในปัจจุบัน  นอกจากนี้ยังมีอีกแพลตฟอร์ม คือ แพลตฟอร์มที่ขายด้านการบริการ เช่น ขายตั๋วเครื่องบิน, โรงแรม, สปา, ร้านอาหาร เป็นต้น โดยเทียบเท่ากับ Agoda, Tripadvisor หรือ วงใน ของจีน โดยแพลตฟอร์มทั้ง 2 ประเภททั้งนี้ในจีนกำลังได้รับความนิยม คือ Social e-commerce และแพลตฟอร์มที่ขายด้านบริการโดยเฉพาะ ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วซึ่งได้รับความนิยมและการตอบรับอย่างมากในกลุ่มผู้บริโภคชาวจีน ซึ่งกลยุทธ์ในการทำการตลาดของทั้งสองแพลตฟอร์มหันไปเจาะตลาดหัวเมืองรองระดับ 3-6 (3tier-6tier) คือ ตลาดต่างจังหวัดในจีนที่มีจำนวนประชากรจำนวนมาก  ซึ่ง E-commerce รายใหญ่อย่าง JD, Tmall, Alibaba จะเน้นทำตลาดกลุ่มลูกค้าหัวเมืองหลักระดับ1-2 (1tier 2tier) ในขณะที่แพลตฟอร์ม Social e-commerce อย่าง Pin Duo Duo เจาะตลาดกลุ่มหัวเมืองรองระดับ 3-6 (3tier-6tier) ซึ่งเป็นกลุ่ม ที่ประชากรถึง 60% ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศจีน โดยเป็นกลุ่มลูกค้าที่ต้องการสินค้าถูกและคุณภาพดี ทำให้สามารถขยายฐานลูกค้าได้จำนวนมากในระยะเวลาไม่นาน ปัจจุบัน Pin Duo Duo มีผู้ใช้งาน (User) แล้วมากกว่า 500 ล้านคน ซึ่งมากกว่า JD.com (จิงตง) E-commerce ยักษ์ใหญ่ของจีน คู่แข่งสำคัญของ Alibaba โดย Pin Duo Duo ใช้เทคนิคในการขายสินค้าได้ดี ด้วยการมุ่งเน้นขายปริมาณของสินค้าเป็นหลัก และราคาถูกกว่าข้างนอก 30%

นอกจากนี้ Pin Duo Duo ยังไม่หยุดเติบโต เดินหน้ารุกตลาดขยายฐานกลุ่มผู้บริโภคเจาะกลุ่มลูกค้าระดับหัวเมืองหลัก tier 1-2 ได้สำเร็จด้วยการจัดแคมเปญนำสินค้าระดับพรีเมียมแบรนด์โทรศัพท์ชั้นนำอย่าง Apple โดยนำ iPhone 11 มาจัดโปรโมชั่นแคมเปญ ที่ราคาถูกกว่า และขายดีมากจนทำให้ Pin Duo Duo ต้องจ่ายค่าส่วนต่างของโทรศัพท์ให้แก่Apple กว่าหมื่นล้านบาท การจัดแคมเปญนี้เองที่สามารถดึงความสนใจ และเปลี่ยนมุมมองของผู้บริโภคกลุ่มหัวเมืองหลัก tier 1-2 ให้หันมาสนใจและมองว่า Pin Duo Duo ไม่ได้มีเพียงสินค้าถูก และดีเท่านั้น แต่ยังมีสินค้าระดับพรีเมียม แบรนด์ชั้นนำ และคุณภาพดีเข้ามาขายในแพลตฟอร์มอีกด้วย จึงทำให้แพลตฟอร์มของเขาเติบโตขึ้นไปอีกอย่างรวดเร็ว

คุณสุวัฒน์ รักทองสุข กล่าวเพิ่มเติมว่า “ตลาด E-commerce ในจีนปัจจุบันทิ้งห่างเราไปไกลมาก ส่วนตลาด E-commerce ของเรายังอยู่ในช่วงยุคแรก ในขณะที่จีนเข้าสู่ E-commerce ยุคที่ 3 แล้ว มีแอพพลิเคชั่น แพลตฟอร์มออนไลน์ใหม่ๆ ที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาดแบบ Mass market และแพลตฟอร์มที่เน้นทำตลาด Need market เฉพาะกลุ่มผู้บริโภคเกิดขึ้นมากมาย ดังนั้นการเจาะตลาดจีนจึงทำยากกว่าแต่ก่อน แต่ยังมีช่องทางที่สามารถทำตลาดจีน และประสบความสำเร็จได้ สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องทำ คือ เรียนรู้สินค้าตัวเองก่อน รู้เราก่อนที่จะทำตลาดในจีน หาจุดขาย จุดเด่นของสินค้า ที่สำคัญคือผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีที่ปรึกษา ทีมการตลาดจีนที่มีความเชี่ยวชาญทั้งสามารถวางกลยุทธ์การตลาดจีนได้อย่างถูกต้อง ตรงกลุ่มเป้าหมาย สื่อสารอย่างไรให้ตรงใจผู้บริโภค การทำการตลาดออนไลน์ในจีนนั้นจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือทางการตลาดที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค รวมทั้ง Marketing Mix ส่วนผสมทางการตลาดที่ถูกต้อง อย่างเหมาะสมกับแบรนด์สินค้า และกลุ่มผู้บริโภคครับ”

สุวัฒน์ รักทองสุข CEO  Lert Global Group